ระบบขับเคลื่อนเครื่องสูบน้ำดับเพลิง จะแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

  1.  ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า จะต้องใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟที่เชื่อถือได้ เช่นจ่ายโดยตรงจากหม้อแปลงไฟฟ้า หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  2. ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลนั้นจะสามารถแยกได้ 2 แบบ
    2.1 ระบบ Heat Exchanger Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
    2.2 ระบบ Radiator Cooled คือ ระบบหล่อเย็นด้วยน้ำ โดยใช้รังผึ้งระบายความร้อนด้วยพัดลมจากเครื่องยนต์

Fire Pump (ปั๊มน้ำดับเพลิง) ปั๊มน้ำ คือ อุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงาน จากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว ก๊าซ หรือ ของเหลวที่มีของแข็งเป็นส่วนประกอบ (Slurries) เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่อนที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งหนึ่งที่อยู่สูงกว่าหรือ ในระยะทางที่ไกลออกไป โดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปในระบบ ปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire Pump) เป็นส่วนหนึ่งของระบบน้ำดับเพลิงแบบสปริงเกอร์ (Fire Sprinkler)หรือระบบ Fire Hose ที่จะทำหน้าที่ป้อนน้ำเข้าสู่ระบบด้วยปริมาณและแรงดันที่เพียงพอต่อการทำงานของระบบดับเพลิง(Fire pump system) ที่ออกแบบไว้

ระบบปั๊มน้ำดับเพลิง (Fire pump system) ประกอบด้วย
• เครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump)
• เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
• ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำรักษาแรงดัน (Jockey Pump Controller)
• ตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump Controller)
• Pressure Relief Valve

ขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)
ตามมาตรฐานสากลนั้น มีการกำหนดขนาดของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้อย่างชัดเจน ซึ่งในการเลือกใช้จะต้องเลือกให้อยู่ในขนาดที่ระบุไว้ตามตาราง

ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)ลิตร/นาที (แกลลอน/นาที)
1.   95 (25)8.   1,514 (400)15.   7,570 (2,000)
2.   189 (50)9.   1,703 (450)16.   9,462 (2,500)
3.   379 (100)10.   1,892 (500)17.   11,355 (3,000)
4.   568 (150)11.   2,839 (750)18.   13,247 (3,500)
5.   757 (200)12.   3,785 (1,000)19.   15,140 (4,000)
6.   946 (250)13.   4,731 (1,250)20.   17,032 (4,500)
7.   1,136 (300)14.   5,677 (1,500)21.   18,925 (5,000)

ระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ถูกออกแบบมาให้ทำงานโดยอัตโนมัติ โดยจะรักษาความดันน้ำภายในท่อให้พร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา โดยจะตั้ง ระดับความดันที่สวิทช์ความดัน (Pressure Switch) ไว้ 3 ระดับ สมมุติเช่น
– ระดับความดันที่ 1 (100 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump ทำงาน
– ระดับความดันที่ 2 (120 Psi.) จะทำให้ Jockey Pump หยุดทำงาน (เป็นระดับความดันภายในท่อปกติ)
– ระดับความดันที่ 3 (80 Psi.) จะทำให้ Fire Pump ทำงาน

ในภาวะปกติถ้าความดันของน้ำภายในท่อลดลงต่ำกว่าที่ตั้งเอาไว้ที่สวิตช์ความดันระดับที่1 เช่น ระบบท่อมีการรั่วซึมเล็กน้อย จะทำให้เครื่องสูบน้ำ JOCKEY PUMP ทำงานจนกระทั่งภายในท่อมีความดันตามที่กำหนด (ระดับความดันที่ 2) จึงจะหยุดทำงาน
ถ้ามีการดึงสายฉีดน้ำดับเพลิงออกมาใช้งานจะทำให้เกิดความดันลดลงอย่างรวดเร็ว Jockey Pump ก็จะทำงาน แต่ทำงานแล้วยังไม่สามารถ ควบคุมความดันไว้ให้สูงกว่าระดับความดันที่ 3 ฉะนั้นเมื่อความดันน้ำในท่อลดลงมาถึงระดับความดันที่ 3 เครื่องสูบน้ำ Fire Pump ก็จะทำงานทันที
เมื่อหยุดใช้สายฉีดน้ำดับเพลิงแล้ว ความดันในท่อจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับความดันที่ 2 Jockey Pump ก็จะหยุดทำงาน แต่เครื่องสูบน้ำ Fire Pump จะไม่หยุดทำงาน จะต้องมีคนไปปิดสวิทช์หยุดการทำงานของ Fire Pump ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะถ้าให้เครื่องสูบน้ำ Fire Pump หยุดทำงานอัตโนมัติ อาจเกิดปัญหาเมื่อเครื่องยนต์หยุดการทำงานเองขณะที่มีเหตุเพลิงไหม้ได้ ฉะนั้นตามมาตรฐาน NFPA 20 จึงแนะนำให้การทำงานของระบบ Fire Pump เป็นแบบเริ่มทำงานแบบอัตโนมัติและหยุดการทำงานด้วยมือ

สำหรับระบบการป้องกันของเครื่องยนต์โดยให้หยุดการทำงาน มีกรณีเดียว คือความเร็วรอบเกิน (Over Speed) เพราะจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเสียหายกับปั๊มน้ำ หรือทำให้ความดันน้ำในท่อมากเกินไปซึ่งอาจทำให้เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์ต่างๆในระบบท่อ แต่ในการติดตั้งระบบดับเพลิงก็จะมีการติดตั้ง Pressure Relife Valve ซึ่งเป็นอุปกรณ์ระบายน้ำ เมื่อมีความดันน้ำในท่อมากเกินความต้องการของระบบ

สำหรับการป้องกันเครื่องสูบน้ำดับเพลิงในกรณีอื่น ได้แก่
– ระดับแรงดันน้ำมันเครื่องต่ำกว่าปกติ
– อุณหภูมิของเครื่องยนต์สูงเกินปกติ ,
– ไม่มีไฟ 220 โวลท์ AC. เข้ามาจ่ายเข้าตู้ควบคุม
– แบตเตอรี่ชุดที่ 1 หรือชุดที่ 2 เสื่อม
เมื่อเกิดเหตุกรณีดังกล่าวขึ้น ก็จะมีเสียงกระดิ่งเตือน และสัญญาณไฟโชว์ที่หน้าตู้ แต่เครื่องยนต์จะไม่ดับต้องให้คนมาเป็นคนดับเครื่องเองเท่านั้น

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3211