Electrical Product

"Electrical Product"

ไฟดูด ไฟรั่ว

ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ต่างกันอย่างไรและควรป้องกันอย่างไร​

ไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ต่างกันอย่างไรและควรป้องกันอย่างไร อุบัติเหตุจากไฟรั่ว ไฟดูด ไฟช็อต ถือเป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบ้านของคุณมีระบบไฟฟ้าที่เริ่มเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เพื่อความไม่ประมาท เรามาดูวิธีป้องกันไม่ให้ภัยเหล่านี้ลุกลามจนเกิดเป็นเพลิงไหม้แบบไม่คาดฝันกัน ไฟรั่ว..ไฟดูด..ไฟช็อตคือ? ไฟรั่ว คือการที่กระแสไฟฟ้ารั่วไหลจากวงจรไฟฟ้าไปสู่ภายนอก เช่นผิวของสายไฟหรือโครงโลหะของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า หากสัมผัสอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า การใช้งานที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการเสื่อมสภาพของฉนวนอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้มาเป็นเวลานาน ซึ่งจุดที่เกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว จะมีกระแสไฟฟ้าไหลจนเกิดความร้อนขึ้นและหากความร้อนสะสมเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดการติด ไฟจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ไฟดูด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าหรือกับสายไฟที่มีการรั่ว ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็ง อาจส่งผลให้หัวใจทำงานผิดจังหวะ และเต้นอ่อนลงจนหยุดเต้นและเสียชีวิตในที่สุด สาเหตุของไฟดูดเกิดขึ้นได้จากหลายกรณี เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุดทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมา เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดูดขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำคือตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดโดยการถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ ปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บ และนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ไฟช็อต คือไฟฟ้าลัดวงจร เกิดจากการโอนกระแสไฟฟ้าจากสายไฟเส้นหนึ่งไปยังเส้นอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้ผ่านอุปกรณ์โหลด หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าใดๆ จนเกิดความร้อนสูง และอาจทำให้เกิดประกายไฟและไฟไหม้ได้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่พบคือฉนวนของตัวสายไฟชำรุด หรือเกิดการแตะกันโดยบังเอิญ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟรั่ว ไฟดูด หรือไฟช็อต เรามีวิธีที่คุณสามารถทำได้ง่ายๆ มาฝากกัน ติดตั้งระบบไฟฟ้าที่มีสายดิน ... Read more

checklist electrical

อยู่บ้านปลอดโควิด อย่าลืมตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า

อยู่บ้านปลอดโควิด อย่าลืมตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่อการทำงานจากที่บ้านได้กลายเป็นวิถีชีวิตใหม่ของทุกคนไปเสียแล้ว การใช้งานไฟฟ้าในบ้านจึงเพิ่มมากขึ้นตามกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงาน เปิดแอร์ พัดลม หลอดไฟ ทีวี ฯลฯ ทุกอย่างล้วนต่อกับระบบไฟฟ้าของบ้านแทบทั้งนั้น ดังนั้น คุณจึงควรแน่ใจว่าการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่มากขึ้นนี้ จะยังคงปลอดภัยและไม่มีอุบัติเหตุใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้าเกิดขึ้นกับบ้านและสมาชิกในครอบครัวของคุณ ตรวจเช็คตู้ไฟฟ้าของคุณ วิธีที่ทำได้ง่ายๆ คือการสำรวจตู้คอนซูเมอร์ยูนิต หรือตู้ไฟฟ้าในบ้านของเรา เนื่องจากตู้คอนซูมเมอร์เป็นตู้ที่ใช้จัดการระบบการจ่ายไฟฟ้าจากมิเตอร์สู่บ้าน ติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เซอร์กิตเบรคเกอร์หลัก เซอร์กิตเบรคเกอร์ลูกย่อย และอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด พูดง่ายๆ คือเป็นจุดเชื่อมโยงการใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านทั้งหมด อีกทั้งยังทำหน้าที่ตัดวงจรไฟฟ้าหากมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น ไฟดูด ไฟเกิน ไฟช็อต ไฟรั่ว ที่อาจลุกลามไปจนถึงไฟไหม้ เราจึงควรหมั่นตรวจบำรุงและตรวจสอบระบบการทำงานเพื่อความปลอดภัยต่อตัวเราเองและบ้านอยู่เสมอ สัญญาณเตือนว่าตู้ไฟฟ้าของคุณกำลังมีปัญหา แม้ว่าตู้คอนซูมเมอร์จะไม่มีเกณฑ์อายุการใช้งานที่ตายตัว แต่คุณสามารถตรวจสอบได้ดังนี้ มีการขึ้นสนิมหรือไม่ ฝาตู้ยังต้องใช้งานได้ปกติ สามารถปิดได้สนิท แข็งแรง มีกลิ่นไหม้หรือกลิ่นแปลกๆ ซึ่งอาจเกิดจากตู้ที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือปลอกสายไฟละลาย เป็นรุ่นที่ไม่รองรับการเก็บสายไฟและการเดินสายไฟแบบใหม่ ซึ่งอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดูด ไฟช็อต มีอาการตู้ร้อนบ่อยครั้ง เนื่องจากระบบระบายความร้อนที่ไม่เพียงพอ ตู้ไฟฟ้าของคุณได้มาตรฐานหรือไม่? สำหรับเมืองไทยตู้คอนซูมเมอร์จะต้องมีสติ๊กเกอร์สัญลักษณ์ ... Read more

article circuit breaker siemens

เบรกเกอร์ MCCB คืออะไรและทำหน้าที่อะไร

เบรกเกอร์ MCCB คืออะไรและทำหน้าที่อะไร https://www.youtube.com/watch?v=vKLdDJ53cFU หลายคนอาจสับสนกับชนิดของเบรกเกอร์ที่มีมากมายหลายประเภทตามแรงดันไฟฟ้าและตามการใช้งาน ก่อนที่เราจะพูดถึงเบรกเกอร์แบบ MCCB หรือ Molded Case Circuit Breaker เรามาทำความรู้จักกันก่อนว่าเบรกเกอร์คืออะไร เซอร์กิตเบรกเกอร์ (circuit breaker) หรือเบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจรไฟฟ้าจากกระแสไฟฟ้าเกินหรือกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ทำงานโดยการตัดกระแสไฟฟ้าหลังจากตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า โดยจะเปิดและปิดวงจรแบบไม่อัตโนมัติ (สวิตช์เปิด-ปิดด้วยมือ) รวมถึงสามารถเปิดวงจรอัตโนมัติเมื่อกระแสไหลเกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ สังเกตได้จากด้ามจับคันโยกที่จะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip (อยู่กึ่งกลางระหว่าง ON และ OFF) เมื่อทำการแก้ไขเรียบร้อยก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้เช่นเดิมโดยที่ตัวเบรกเกอร์เองไม่ได้รับความเสียหาย ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้าเกินหรือลัดวงจรได้เช่นเดียวกับฟิวส์ แตกต่างกันตรงที่ฟิวส์จะต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เมื่อทำการเปิดวงจรหรือตัดวงจร ในขณะที่เบรกเกอร์สามารถที่จะปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติในระบบแล้ว MCCB เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับกลุ่ม Low Voltage เบรกเกอร์มีหลายชนิดตามพิกัดแรงดันไฟฟ้า ตั้งแต่เบรกเกอร์ขนาดเล็กสำหรับป้องกันวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage) หรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ไปจนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าแรงสูง (High Voltage) ที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง MCCB (Molded Case Circuit Breaker) คือเซอร์กิตเบรกเกอร์ในกลุ่ม Low Voltage สำหรับระบบไฟฟ้าแรงดันต่ำที่น้อยกว่า 1,000V ... Read more

Philips hue

Philips Hue หลอดไฟอัจฉริยะ แสงสว่างสู่บ้านแห่งอนาคตของคุณ

Philips Hue หลอดไฟอัจฉริยะ แสงสว่างสู่บ้านแห่งอนาคตของคุณ ในช่วงปีหลังๆ มานี้เรามักได้ยินคอนเซ็ปบ้านอัจฉริยะ หรือ Smart Home เทรนด์ที่อยู่อาศัยยุคใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการควบคุมอุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ (Smart Device) ในบ้านไม่ว่าจะเป็น ประตูบ้าน แอร์ ผ้าม่าน ทีวี เครื่องเสียง กล้องวงจรปิด ไปจนถึงไฟฟ้า และน้ำประปา เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้พักอาศัยมากยิ่งขึ้น ใครที่กำลังสนใจอยากปรับเปลี่ยนบ้านตัวเองเป็นบ้านแห่งอนาคต ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับหลอดไฟอัจฉริยะ (Smart Light Bulbs) จาก Philips ที่เมื่อขึ้นชื่อว่าอัจฉริยะแล้ว มันคงไม่ได้ทำได้แค่ให้แสงสว่างเหมือนหลอดไฟปกติทั่วไปอย่างแน่นอน ควบคุมอย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้นด้วย Philips Hue Bridge ระบบแสงสว่างอัจฉริยะ วัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาระบบไฟอัจฉริยะคือการมุ่งเน้นให้เกิดการใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดพลังงานมากกว่าเดิม รวมถึงให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น Philips Hue Bridge ซึ่งเป็นระบบควบคุมหลอดไฟ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถควบคุมแสงไฟได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แต่จะเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การใช้งานระบบแสงสว่างที่คุณได้รับตลอดไป ควบคุมผ่านสมาร์ทโฟน – ควบคุมทุกการทำงานและฟีเจอร์ต่างๆ ผ่านสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตของคุณได้จากทุกที่ เพียงดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น Philips Hue บนระบบ IOS และ ... Read more

facade lighting

Facade Lighting งานตกแต่งเปลือกอาคารด้วยแสงไฟ

Facade Lighting งานตกแต่งเปลือกอาคารด้วยแสงไฟ เราจะเห็นว่าตึกอาคารจะมีองค์ประกอบด้านหน้า เช่น หน้าต่าง กระจก ระเบียง ชายคา หรือสิ่งตกแต่งปลีกย่อยอื่นๆ องค์ประกอบเหล่านี้เรียกว่า Facade หรือในงานสถาปัตยกรรมจะเรียกว่า “เปลือกอาคาร” ที่นอกเหนือจากมีประโยชน์ในการปกป้องอาคารจากสภาวะแวดล้อมภายนอก ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานทางด้านสถาปัตยกรรมที่สำคัญของนักออกแบบ นวัตกรรมแสงสว่าง LEDสำหรับบ้านพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียม การตกแต่งของ facade จะค่อนข้างเรียบง่ายเพื่อความสะดวกในการใช้งานและการดูแลรักษา แต่ในอาคารพาณิชย์ เช่น ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า โรงแรม สนามกีฬา อาคารสูง รวมไปถึงแลนด์มาร์คต่างๆ ที่ต้องการเน้นงานสถาปัตยกรรมที่ดึงดูดความสนใจ หรือสำหรับทำกิจกรรม เช่น ลานหน้าศูนย์การค้า การออกแบบของ facade จึงมีรายละเอียดลูกเล่นที่หลากหลายและซับซ้อนมากกว่า ซึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยสร้างมิติและความโดดเด่นคงไม่พ้นการออกแบบแสงไฟภายนอกอาคาร (Lighting Design for Exterior) เพื่อช่วยเพิ่มเสน่ห์และความสวยงามให้แก่อาคารในยามค่ำคืนการใช้ไฟ LED เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีของการตกแต่งอาคารที่เพิ่มสีสัน สร้างอัตลักษณ์ ช่วยให้อาคารมองเห็นได้จากระยะไกล อาคารที่มีสถาปัตยกรรมการออกแบบภายนอกและตกแต่งด้วยแสงไฟที่สวยงามย่อมเป็นที่จดจำและพูดถึงในวงกว้าง ถือเป็นอีกกลยุทธ์ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้กับแบรนด์ และส่งเสริมการขาย คุณสมบัติของหลอดไฟ LED เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: หลอดไฟ LED ... Read more

EV charger

EV Charger เครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV

EV Charger เครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV รถ EV (Electric vehicle) หรือรถยนต์ไฟฟ้า ถือเป็นนวัตกรรมยานยนต์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในหลายๆ ประเทศทั่วโลก แน่นอนว่าข้อดีของรถ EV คือขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ไม่ต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงยังประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและไร้ซึ่งเสียงรบกวน ซึ่งอุปกรณ์ที่มาคู่กันก็คือ EV Charger (เครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า หรือ สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ โดยสามารถแบ่งการชาร์จออกเป็น 2 ประเภท คือการชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge) และการชาร์จแบบด่วน (Quick Charge/Fast Charge) 1. การชาร์จแบบธรรมดา (Normal Charge หรือ AC Charge) เป็นการชาร์จในที่พักอาศัยด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ AC (Alternative Current) ผ่านระบบชาร์จไฟ On-Board Charger ที่อยู่ภายในตัวรถ ซึ่ง On-Board Charger จะทำหน้าที่ในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง DC (Direct current) ... Read more

UVC

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C

ประโยชน์จากหลอดไฟ UV-C เราคงคุ้นหูกันดีกับรังสี UV-A และ UV-B ในแสงแดด ที่ถึงแม้จะมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นการผลิตวิตามินดีและสามารถนำมารักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากและเป็นระยะเวลานานก็จะเป็นอันตรายต่อผิวหนัง สร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ และก่อให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้ แล้วรังสี UV-C พบได้ที่ไหน จริงๆ แล้ว รังสียูวีในแสงแดดถูกแบ่งออกเป็น 3 โซนด้วยกัน แต่แสงแดดที่มาถึงพื้นโลกจะมีคลื่นแสงยาวกว่า 290 nm ในขณะที่ UV-C มีช่วงความยาวคลื่นที่ 100 – 280 nm จึงมักมาไม่ถึงผิวโลก ยกเว้นในบริเวณยอดเขาสูง รังสี UV-C เป็นรังสีที่อันตรายต่อมนุษย์ในระดับรุนแรง ทำให้ผิวหนังไหม้เกรียม เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาบอดได้ ด้วยความรุนแรงดังกล่าว UVC จึงจัดเป็นรังสีที่ประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อโรค และการนำมาใช้งานจึงเกิดขึ้นจากการสังเคราะห์ขึ้นเองผ่านระบบ “UVGI” (Ultraviolet Germicidal Irradiation) หรือ ระบบการใช้แสงยูวีที่มีความเข้มข้นสูงพิเศษ (Germicidal Range) ประโยชน์ของ UV-CUV-C มีพลังงานสูง ความยาวคลื่นยาวกว่ารังสี X-Ray สามารถส่องทะลุผ่านผิววัตถุรวมถึงดีเอ็นเอของเชื้อโรค ... Read more

article circuit breaker siemens

เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยไฟฟ้า คืออะไร

เบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยไฟฟ้า คืออะไร เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าในการตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้า เพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าเกิดความเสียหาย จากกระแสไฟฟ้าเกินโหลดเกิน(ใช้ไฟมากเกิน) หรือไฟฟ้าลัดวงจร เบรกเกอร์แต่ละประเภทมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้งานคล้ายๆกับฟิวส์(Fuse) แตกต่างกันตรงที่เบรกเกอร์เมื่อมีการตัดวงจรแล้วสามารถสับสวิตซ์เพื่อใช้งานต่อได้ทันที เบรกเกอร์มีหลายประเภท ทั้งเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่ใช้ป้องกันสำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำ เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้า จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ มี 3 ประเภทคือ 1.เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breaker) 2.เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้ากลาง(Medium voltage Circuit breaker)และ เบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง(High voltage circuit breaker) เบรกเกอร์ที่นิยมใช้กันคือ Low Voltage Circuit Breaker เบรกเกอร์กลุ่มนี้คือ MCB, MCCB และ ACB จะมีลักษณะที่แตกต่างกันตามการออกแบบ ทั้งขนาด รูปร่างที่ถูกออกแบบมา ให้เข้ากับการใช้งานหลากหลายประเภท เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ(Low Voltage Circuit Breakers) นิยมติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิทและตู้โหลดเซ็นเตอร์ ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ มีดังนี้ ... Read more

Cover check electrical equipment on your home

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เมื่อผ่านอายุการใช้งานมานาน

วิธีตรวจเช็ค อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เมื่อผ่านอายุการใช้งานมานาน การตรวจรักษาระบบไฟฟ้าในบ้าน อาจจะฟังดูยากสำหรับใครหลายๆคน แต่หัวขี้อนี้เราจะมาอธิบายพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าที่คนทั่วไปสามารถตรวจสอบเองได้ เมื่อเจอปัญหาเล็กๆสามารถตรวจดูพื้นฐานได้เองค่ะ ระบบไฟฟ้าถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกหนึ่งอย่าง เนื่องจากหลายครอบครัวมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการป้องกันสิ่งที่ไม่คาดคิดให้กับคนที่คุณรัก มิเตอร์ไฟฟ้า วิธีการตรวจสอบคือต้องปิดสวิตซ์ไฟภายในบ้านทุกจุด ถอดปลั๊กอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมด และดูที่มิเตอร์หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กหมุนอยู่หรือไม่ เพราะหากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ให้ลองตรวจสอบอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ เช่น เครื่องตัดไฟรั่วว่ายังทำงานดีอยู่หรือไม่ ด้วยการกดปุ่มทดสอบ ซึ่งถ้ายังใช้งานได้ดี สวิตช์หรือคันโยกจะตกลงมาทันที เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า แต่ถ้าเครื่องตัดไฟรั่วไม่ทำงาน ก็ต้องเรียกช่างมาแก้ไข ตรวจสอบเมนสวิตช์ คัตเอ๊าต์และเบรกเกอร์ยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่ หากมีอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียก็ควรเปลี่ยนใหม่ให้เรียบร้อย สวิตช์ตัดตอนชนิดคัดเอาท์ ตัวคัทเอาท์และฝาครอบต้องไม่แตก ใส่ฟิวส์ให้ถูกขนาดและมีฝาครอบปิดให้มิดชิด ห้ามใช้วัสดุอื่นใส่แทนฟิวส์ ขั้วต่อสายที่คัทเอาท์ต้องแน่นและใช้ขนาดสายให้ถูกต้อง ใบมีดของตัทเอาท์เมื่อสับใช้งานต้องแน่น เบรกเกอร์ ตรวจสอบฝาครอบเบรคเกอร์ต้องไม่แตกร้าว ต้องมีฝาครอบปิดเบรคเกอร์ให้มิดชิด ต้องติดตั้งในที่แห้งไม่เปียกชื้นและห่างไกลจากสารเคมีสารไวไฟต่าง ๆ เลือกเบรคเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตรวจสอบสายไฟว่ามีส่วนที่ชำรุดหรือไม่ สายไฟหากไม่ได้ใส่ใจตรวจสอบให้ดี ก็สามารถเปื่อยและพังได้ วิธีตรวจสอบสายไฟ สังเกตจากฉนวนจะแตกและแห้งกรอบ ซึ่งฉนวนสายไฟที่ชำรุดอาจจะเกิดจากการถูกหนูหรือแมลงสาบกัดแทะหรือสายไฟใกล้แหล่งความร้อน จุดต่อสายไฟต้องให้แน่น หน้าสัมผัสให้ดี พันฉนวนให้เรียบร้อยขนาดของสายไฟฟ้า ใช้ขนาดของสายให้เหมาะสมกับปริมาณกระแสที่ไหลในสาย หรือให้เหมาะสมกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในวงจรนั้น สายไฟฟ้าต้องไม่เดินอยู่ใกล้แหล่งความร้อน สารเคมี หรือถูกของหนักทับ เพราะทำให้ฉนวนชำรุดได้ง่าย ... Read more

Cover article UVC

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C​

ปกป้องบ้านของคุณจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียด้วยแสง UV-C โคมไฟแสง UV-C สำหรับฆ่าเชื้อโรค โคมไฟตั้งโต๊ะ จากฟิลิปส์ ข้อมูลสินค้า • ใช้งานง่าย พร้อมแผงควบคุมที่ชัดเจนและคำแนะนำแบบเสียง • เพิ่มการป้องกันอีกระดับด้วยเซ็นเซอร์จับการเคลื่อนไหวและตัวตั้งเวลา • จากการทดสอบในห้องแล็บ พบว่าแหล่งกำเนิดแสง UV-C ของเราสามารถลด SARS-CoV-2 (ไวรัสที่ทำให้เกิดเชื้อโควิด-19) บนพื้นผิวจนต่ำกว่าระดับที่ตรวจจับได้ในเวลาเพียง 9 วินาที³ • ยับยั้งเชื้อโรคบนพื้นผิวและวัตถุได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที¹ • หลอดไฟแสง UV-C ประสิทธิภาพสูง ฟิลิปส์ (254nm) • มีโหมดการตั้งเวลาเวลาในการยับยั้งเชื้อโรค 15 30 45 นาที • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ไม่มีสารตกค้างทั้งระหว่างการใช้งาน และหลังจากใช้งานเสร็จแล้ว สามารถเข้าห้องได้ทันที • ออกแบบเป็นทรงเหลี่ยมสวยงาม เข้ากันได้กับทุกห้อง • มีการโต้ตอบด้วยเสียง เพื่อบอกผู้ใช้งานถึงขั้นตอนการตั้งค่าต่างๆ ในการฆ่าเชื้อโรค • มีเซ็นเซอร์แบบไมโครเวฟเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวของบุคคล, สัตว์เลี้ยง, และวัตถุ ในรัศมี 3 ... Read more

Cover article RCCB RCBO

อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB และ RCBO

อุปกรณ์ป้องกันไฟดูด RCCB และ RCBO เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด มีหน้าที่ป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วตามค่าที่กำหนด อาทิ เครื่องซักผ้าชำรุด ทำให้มีกระแสไฟรั่วออกมาที่ตัวเครื่อง เมื่อเราไปจับหรือสัมผัสเบรกเกอร์ก็จะตัดวงจรเพื่อไม่ให้เกิดอันตราย(ไฟดูด)กับผู้ใช้งานนั่นเอง เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด(RCCBs) รุ่นล่าสุด 5SV และรุ่น 5SM จะ ตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วตามค่าที่กำหนด ส่วนเบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด/ไฟเกิน/ไฟช็อต (RCBOs) รุ่น 5SU9 เป็น อุปกรณ์ที่ควบรวมคุณสมบัติของ RCCBs และ MCBs เข้าไว้ด้วยกัน สามารถตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่วที่ 10 และ 30 มิลลิแอมแปร์ คุณสมบัติกลุ่มผลิตภัณฑ์เบรกเกอร์กันไฟดูด-ไฟรั่ว RCCB RCCBs ทำหน้าที่ป้องกันไฟรั่ว/ไฟดูด จะตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อเกิดไฟรั่ว/ไฟดูดตามค่าที่กำหนด เป็นอุปกรณ์ที่ใช้หลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า ( Electromagnetic) ซึ่งเป็นระบบที่มีความน่าเชื่อถือสูงที่สุด สามารถตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีที่สายนิวตรอน (Neutral) หลุดหรือขาด สามารถเชื่อมต่อกับเบรกเกอร์รุ่น 5SL เพื่อเพิ่มฟังก์ชันในการป้องกันไฟฟ้าเกินพิกัด (overload) และไฟฟ้าช็อต/ลัดวงจร (short circuit) ได้ มีให้เลือกทั้ง 1 ... Read more

Cover article consumer unit

ทำความรู้จักกับตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์

ทำไม ต้องตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์ ตู้คอนซูเมอร์ยูนิต ซีเมนส์ รุ่น ALPHA SIMBOX ใช้สำหรับใส่ อุปกรณ์ MCBs, RCBOs/RCCBs, Surge Protection ตัวตู้ผลิตจาก เหล็กเกรดเอ คุณภาพสูง หนาพิเศษ มีความแข็งแรงทนทาน ไม่เป็น สนิม มีรูปลักษณ์ทันสมัย ใช้ติดตั้งภายในอาคารและที่พักอาศัย ผลิต ตามมาตรฐานสากล และ มอก. 1436-2540 มีรุ่นให้เลือกตามการใช้งาน ตั้งแต่ 4 – 20 ช่อง ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ซีเมนส์ • รวมการทำงานของระบบไฟฟ้าไว้ที่เดียว • ทำงานร่วมกับอุปกรณ์ตัดต่ออัตโนมัติไม่ใช้ Fuse ไม่ขาดเมื่อเกิดปัญหา • สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับการใช้งาน • สวยงามในการติดตั้ง • มีมาตราฐานในการออกแบบและการทดสอบ คุณสมบัติของตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Alpha Simbox Siemens 1. ตัวตู้ทำจากเหล็กหนา 0.8mm ... Read more