ติด 'เบรกเกอร์กันดูด' รับมือไฟดูดช่วงหน้าฝน
การสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้า (โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโลหะ) หรือวงจรไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายเปียกชื้น หรือในขณะที่ยืนอยู่บนที่เปียกแฉะจะทำให้ถูกไฟดูดได้เนื่องจากน้ำเป็นตัวนำไฟฟ้าชั้นดี จริง ๆ ไฟดูด ไฟรั่ว เป็นภัยใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่ในช่วงหน้าฝนความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยเฉพาะหากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วม และบ้านของคุณมีระบบป้องกันไฟฟ้าที่ไม่ดีพอ หรือระบบไฟฟ้าเริ่มเสื่อมสภาพตามกาลเวลา เพื่อความไม่ประมาท เรามาดูวิธีป้องกันภัยที่สะดวกและปลอดภัยด้วยเบรกเกอร์กันไฟดูดกัน
เบรกเกอร์กันไฟดูดคืออะไร
เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือ เบรกเกอร์กันดูด เป็นอุปกรณ์ป้องกันไฟดูดไฟรั่ว (Residual Current Devices – RCD) ทำหน้าที่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในบ้านเพื่อป้องกันไฟรั่วไฟดูด โดยจะตัดวงจรอัตโนมัติหากเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วตามค่าที่กำหนด โดยทั่วไปแนะนำที่ 30 มิลลิแอมป์ เนื่องจากเป็นระดับที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
เบรกเกอร์กันไฟดูด หรือ RCD จะมี 2 ประเภทคือ
- RCCB (Residual Current Circuit Breaker) ทำหน้าที่ป้องกันไฟดูด ไฟรั่วแต่ไม่สามารถที่จะกันกระแสลัดวงจรได้ ปกติจะแนะนำให้ติดตั้งควบคู่กับเซอร์กิตเบรกเกอร์
- RCBO (Residual Current Circuit Breaker with Overcurrent Protection) ทำงานเช่นเดียวกับ RCCB คือตัดวงจรเมื่อเกิด ไฟดูด ไฟรั่วรวมถึงป้องกันกระแสเกินและกระแสลัดวงจรด้วย เปรียบเสมือนการนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ กับ RCCB มารวมเข้าด้วยกัน
เบรกเกอร์กันดูดกับเบรกเกอร์ธรรมดา
เบรกเกอร์ธรรมดา หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อตรวจพบความผิดปกติในวงจรไฟฟ้าจากการโหลดเกิน (Overload) หรือไฟฟ้าลัดวงจร (Short Circuit) เท่านั้น ดังนั้นในการขอมิเตอร์ไฟฟ้าบ้านในปัจจุบัน จึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์กันไฟดูดไฟรั่วร่วมด้วย ซึ่งตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตรุ่นใหม่จะมีส่วนสำหรับติดตั้งเบรกเกอร์กันไฟดูดไฟรั่ว แยกออกมาจากส่วนของเบรกเกอร์โดยเฉพาะ สามารถเลือกแบบตัดวงจรเฉพาะจุดหรือแบบกลุ่ม (เฉพาะวงจรที่เสี่ยงต่อการเกิดไฟดูด) เพื่อให้สามารถใช้งานไฟฟ้าในส่วนอื่นของบ้านได้ตามปกติ
ไฟดูดไฟรั่วเกิดขึ้นได้อย่างไร
ไฟดูด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไปสัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าหรือกับสายไฟที่มีการรั่ว ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือสายไฟชำรุดหรือเสื่อมสภาพ การเดินสายไฟที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดการตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง
ไฟดูดอันตรายถึงชีวิต
เมื่อถูกไฟดูด กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านร่างกายและลงสู่พื้นดิน อาการจะขึ้นอยู่กับกระแสไฟ เช่นปริมาณกระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 10 มิลลิแอมป์ จะรู้สึกว่าถูกดูดแต่ไม่อันตราย ถ้ากระแสไฟฟ้าต่ำกว่า 20 มิลลิแอมป์ อาจเกิดอาการไหม้ตามจุดต่าง ๆ กล้ามเนื้อเกร็งหรือหายใจติดขัด และหากกระแสไฟมากกว่า 30 มิลลิแอมป์ จะทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว อาจหมดสติและเสียชีวิตได้
พบคนถูกไฟดูดต้องทำอย่างไร
เมื่อเกิดเหตุไฟฟ้าดูดขึ้น สิ่งแรกที่ควรทำคือตัดกระแสไฟฟ้าให้เร็วที่สุดโดยการถอดปลั๊ก ปิดเมนสวิตช์ แต่หากไม่สามารถทำได้ห้ามเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกไฟดูดเด็ดขาด เนื่องจากกระแสไฟสามารถข้ามสู่ตัวผู้เข้าไปช่วยได้ กรณีที่ทำได้ควรสวมรองเท้ายางหรือใช้ผ้าขยับสายไฟออกจากผู้บาดเจ็บ เคลื่อนย้ายมายังที่ปลอดภัย (ในกรณีที่ไม่ได้ตกจากที่สูง) ปฐมพยาบาลและนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด
SIEMENS Breaker RCBO กันไฟดูด-ไฟรั่ว-ไฟเกิน-ไฟช็อต
เราได้เห็นถึงประโยชน์ของเบรกเกอร์กันดูดที่จัดเป็นวิธีที่สะดวกและปลอดภัยที่สุดในการป้องกันไฟดูดไฟรั่วได้ตั้งแต่ต้นทาง สิ่งสำคัญคือการเลือกเบรกเกอร์กันไฟดูดที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน
เบรกเกอร์กันไฟรั่ว/ไฟดูด/ไฟเกิน/ไฟช็อต (RCBO) รุ่น 5SU9 จากซีเมนส์ เป็นอุปกรณ์ที่รวมคุณสมบัติของ RCCB และ MCB (เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย) เข้าไว้ด้วยกัน สามารถตัดวงจรอัตโนมัติเมื่อมีค่ากระแสไฟรั่ว 10 มิลลิแอมป์ และ 30 มิลลิแอมป์ เหมาะสำหรับใช้ป้องกันไฟดูดแก่ผู้อยู่อาศัย และป้องกันไฟรั่วของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อยู่ภายนอกอาคาร มีการเพิ่มเติมสายดินให้อุปกรณ์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้ในกรณีนิวตรอนหลุดหรือขาดได้มีตัวบอกสถานะการทำงานของอุปกรณ์ ทำให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง
หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำ บี.กริม เทรดดิ้ง มีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่
สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account : https://lin.ee/ItAW7DS @bgrimmtrading