เครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากับเครื่องยนต์ต่างกันอย่างไร

B.Grimm Trading|Patterson|Fire Pumps|electric motor | diesel engine

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากับเครื่องยนต์ต่างกันอย่างไร

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง หรือ Fire Pump เป็นส่วนประกอบหลักของระบบดับเพลิงด้วยน้ำ (Fire Pump System) เนื่องจากทำหน้าที่ส่งน้ำเข้าระบบท่อดับเพลิง โดยจะเดินท่อจากเครื่องไปยังจุดต่าง ๆ ในอาคาร เช่นต่อเข้ากับสปริงเกอร์หรือจุดจ่ายน้ำดับเพลิงตามพื้นที่ต่าง ๆ ด้วยอัตราการไหลและแรงดันที่เพียงพอต่อการจ่ายน้ำในกรณีที่เกิดอัคคีภัย เครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะมีระบบการขับเคลื่อน 2 แบบ คือชนิดขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลและชนิดขับด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งการติดตั้งจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล เช่น มาตรฐาน NFPA 20

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric-Driven Fire Pump)

B.Grimm Trading|Patterson|Fire Pumps | Electric-Driven Pump
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิด ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (Electric-Driven Fire Pump)

การออกแบบและการบำรุงรักษาเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดมอเตอร์ไฟฟ้าทำได้ง่ายกว่าชนิดเครื่องยนต์ เนื่องจากไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงจากภายนอก เพียงแค่มีกำลังไฟฟ้าก็สามารถทำงานได้ทันทีต่างจากชนิดที่ขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซลที่ต้องใช้เวลาสตาร์ท ชนิดมอเตอร์ไฟฟ้าไม่ต้องมีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทำให้ระบบสะอาดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น พลังงานไฟฟ้าสามารถวิ่งผ่านอาคารได้ง่ายกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในอาคารสูงที่มีโซนแรงดันหลายจุด การรับพลังงานนั้นง่ายกว่าการรับน้ำมันดีเซล

หลักสำคัญคือจะต้องใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟที่เชื่อถือได้เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องจะสามารถใช้งานได้ทั้งในสภาวะปกติและฉุกเฉิน เช่น จ่ายโดยตรงจากหม้อแปลงไฟฟ้าหรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า นอกจากนี้มาตรฐาน NFPA 20 ยังกำหนดให้มอเตอร์ไฟฟ้าต้องต่อกับแหล่งไฟฟ้าสำรองด้วย (ยกเว้นในกรณีที่มีเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบขับเคลื่อนด้วยดีเซลสำรอง) เพื่อให้สามารถจ่ายไฟได้ในกรณีที่ไฟฟ้าหลักของอาคารดับในขณะเกิดอัคคีภัยและสภาวะฉุกเฉินอื่นๆ รวมถึงในอาคารที่มีขนาดสูงเกินกำลังของเครื่องสูบ โดยจะต้องมีสวิตช์ควบคุมการสลับแหล่งพลังงาน โดยจะสลับไปใช้ไฟสำรองโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจจับได้ว่าสูญเสียพลังงานจากไฟฟ้าหลัก

แหล่งไฟฟ้าสำรองนี้ถือเป็นเหตุฉุกเฉิน ควรใช้งานได้ภายใน 10 วินาทีหลังจากสูญเสียพลังงานตามปกติ และจะต้องใช้งานได้อย่างน้อย 8 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังต้องทำงานด้วยกระแสไฟที่มากถึงหกเท่าของกระแสโหลดเต็ม หากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดรองรับเฉพาะโหลดเต็ม จะถือว่าไม่มีพลังงานเพียงพอที่จะขับเคลื่อนปั๊มเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด NFPA 20 เนื่องจากปั๊มส่วนใหญ่มีกำลังสูง (ประมาณ 150 ถึง 250 แรงม้า) จึงต้องมีการควบคุมให้เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีขนาดเพื่อรองรับโหลดเริ่มต้นที่จำเป็น ไม่ใช่แค่โหลดที่ทำงานอยู่

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยดีเซล (Diesel-Driven Fire Pump)

B.Grimm Trading|Patterson|Fire Pumps | Diesel-Driven Pump
เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยดีเซล (Diesel-Driven Fire Pump)

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยดีเซลมีความน่าเชื่อถือสูง สามารถทำงานได้แม้ไม่มีไฟฟ้า เนื่องจากขณะเกิดเหตุเพลิงไหม้ จะมีการตัดไฟฟ้าเพื่อเป็นการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้น เมื่อไฟดับ เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดขับเคลื่อนด้วยดีเซลจะสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ไฟจากแบตเตอรี่ 2 ชุด

อย่างไรก็ตามชนิดเครื่องยนต์ต้องการการดูแลมากกว่าเนื่องจากมีอุปกรณ์หลายชิ้นและมีการเสื่อมที่เร็วกว่าชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า และเนื่องจากถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถติดไฟได้ง่ายจึงต้องเก็บไว้ในห้องเครื่องหรือใกล้ ๆ กับห้องเครื่อง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบเครื่องยนต์ยังต้องมีการระบายอากาศจากท่อไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์และต้องตรวจเช็คเชื้อเพลิงที่ใช้ระหว่างการทำงานให้เพียงพออยู่เสมอ รวมถึงต้องมีการทดสอบการทำงานบ่อยครั้ง ทำให้การวางเครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดดีเซลไว้ภายในอาคารเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเครื่องสูบน้ำดับเพลิงได้ถูกออกแบบให้ติดตั้งไว้ภายในอาคารเนื่องจากข้อกำหนดของระดับแรงดัน

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดดีเซลจึงเหมาะสำหรับติดตั้งที่ชั้นล่างของอาคารใกล้กับผนังด้านนอกหรือในห้องเครื่องแยกต่างหากเพื่อรองรับการเติมเชื้อเพลิงและการระบายอากาศของไอเสียจากการเผาไหม้ การออกแบบให้ติดตั้งไว้ภายในอาคารหรือในโซนกลางหรือโซนสูงของอาคารสูงจะทำได้ยาก

(*ในอาคารสูงอาจจะต้องมีการแบ่งระบบท่อส่งน้ำดับเพลิงเป็น 2-3 ส่วน คือ โซนบน (High Zone) โซนล่าง (Low Zone) และโซนกลาง (Middle Zone) ในบางอาคารเพื่อควบคุมความดันน้ำดับเพลิงให้อยู่ในช่วงที่ต้องการ ไม่ให้ต่ำหรือสูงเกินไป)

 

เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดไหนได้รับความนิยมมากกว่ากัน?

ถ้าจะให้ตัดสินว่าเครื่องสูบน้ำดับเพลิงแบบไหนดีกว่ากันคงตอบได้ยาก เนื่องจากทั้งสองชนิดมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน จึงขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ใช้งานมากกว่า อย่างไรก็ตาม เราจะพบว่าอาคารและโรงงานส่วนใหญ่ในประเทศไทยนิยมใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดเครื่องยนต์มากกว่าแบบมอเตอร์ เนื่องจากความสะดวกเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ อย่างที่อธิบายข้างต้นว่าในสภาวะฉุกเฉินไฟไหม้จะต้องมีการตัดไฟฟ้าภายในอาคารเพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เครื่องสูบน้ำดับเพลิงชนิดมอเตอร์จะต้องพึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เพื่อให้สามารถทำงานได้ ในขณะที่ชนิดเครื่องยนต์จะสามารถทำงานได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องหาซื้อ Generator จึงเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับอาคารไปโดยปริยาย โครงการส่วนใหญ่ที่มีงบจำกัดจึงเลือกใช้ปั๊มน้ำดับเพลิงชนิดเครื่องยนต์มากกว่า

บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นตัวแทนจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เครื่องสูบน้ำดับเพลิงแพตเทอร์สัน ที่ได้รับการรับรองจากสถาบัน UL (Under Writer Laboratory), FM (Factory Mutual) และเป็นไปตามมาตรฐาน NFPA 20 ที่ผู้คนนับล้านจากทั่วโลกให้ความไว้วางใจ มั่นใจได้ในประสิทธิภาพในการทำงาน ความแข็งแรงทนทาน ความหลากหลายของเครื่องสูบน้ำและบริการหลังการขายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านการป้องกันอัคคีภัยอย่างดีที่สุด

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

👷🏻ติดต่อ : คุณป้อมเพชร วิศยทักษิณ ผู้จัดการฝ่ายขาย (Mechanical Department)
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211 / 081-610-6604
📱Line id : Pompetch.w
📱Line OA : https://lin.ee/rgaSD6n or @bgrimmtrading

🌐 https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
📧 อีเมล: [email protected]
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211

เรื่องล่าสุด

ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน NFPA และมาตรฐาน UL/FM

B.Grimm Trading|Patterson|Fire Pumps|NFPA & UL/FM Standards

ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน NFPA แตกต่างจากปั๊มน้ำมาตรฐาน UL/FM อย่างไร

B.Grimm Trading|Mechanical Product | Patterson | Fire Pump | NFPA | UL FM Standard

ปั๊มน้ำดับเพลิง เป็นอีกหนึ่งระบบเพื่อความปลอดภัยของอาคารที่มีมาตรฐานรองรับมากมาย ซึ่งมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลก็คือมาตรฐาน NFPA แต่หลายท่านก็อาจจะเคยรู้จักมาตรฐานอื่นที่เรียกว่า UL/FM แล้วสงสัยไหมว่ามาตรฐาน NFPA แตกต่างจากมาตรฐาน UL/FM อย่างไร? ปั๊มน้ำดับเพลิงที่เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA มีใบรับรองจาก NFPA เหมือนกับของ UL/FM หรือไม่ วันนี้เรามาไขข้อข้องใจกัน

NFPA (National Fire Protection Association) หรือ สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Profit Organization) ของสหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนกิจกรรมด้านการป้องกันอัคคีภัย โดยมีการจัดทำและกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยกว่า 300 ประเภท พัฒนาจากข้อมูลสถิติความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินอันเกิดจากอัคคีภัยและอุบัติภัยต่าง ๆ มาตรฐาน NFPA เป็นมาตรฐานระดับสากลที่ได้รับการยอมรับและใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดในโลก โดยจะใช้เป็นเกณฑ์ในการก่อสร้างตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ตรวจสอบและบริหารจัดการอาคารให้มีความปลอดภัยเมื่อเกิดอัคคีภัย

มาตรฐาน NFPA จะมีข้อกำหนดต่าง ๆ ที่เคร่งครัดโดยเฉพาะในระบบปั๊มน้ำดับเพลิง ซึ่งมาตรฐานของเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะใช้รหัส NFPA 20 (Standard for the Installation of Centrifugal Fire Pumps) ซึ่งจะมีข้อกำหนดในการเลือกและติดตั้งปั๊มน้ำดับเพลิงแบบตั้งอยู่กับที่ ทั้งแบบชนิดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Centrifugal Fire Pump) หรือปั๊มน้ำหอยโข่งชนิดแนวนอน (Horizontal Split Case Pump) และแนวดิ่ง (Vertical Turbine Pump) เพื่อให้แน่ใจว่าระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิงจะทำงานตามที่ตั้งใจไว้เพื่อส่งน้ำประปาที่เพียงพอและเชื่อถือได้ในกรณีฉุกเฉินจากอัคคีภัย

ปั๊มน้ำดับเพลิงตามมาตรฐาน NFPA มีใบรับรองจาก NFPA หรือไม่

ต้องอธิบายก่อนว่า NFPA เป็นเพียงหน่วยงานที่กำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่ผลิตภัณฑ์พึงมี เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อความปลอดภัยสูงสุด แต่ NFPA ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการทดสอบหรือให้การรับรองการผ่านเกณฑ์มาตรฐานของผลิตภัณฑ์อย่างที่หลาย ๆ คนเข้าใจ (อย่างไรก็ตาม NFPA จะมีโปรแกรมสำหรับทดสอบและให้การรับรองความเชี่ยวชาญสำหรับบุคคลในด้านความปลอดภัยต่าง ๆ)

ดังนั้นจึงไม่มีปั๊มน้ำดับเพลิงที่ได้รับการรับรองจาก NFPA มีแต่เครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ “เป็นไปตาม” มาตรฐานข้อกำหนดความปลอดภัยของมาตรฐาน NFPA และถ้าจะพูดถึงหน่วยงานที่มีการทดสอบและรับรองมาตรฐานความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปั๊มน้ำดับเพลิง ก็จะเป็นมาตรฐาน UL และ FM ที่คนในวงการรู้จักกันดีนั่นเอง

มาตรฐาน UL คืออะไร

UL (Underwriters Laboratories) เป็นหน่วยรับรองอิสระของสหรัฐอเมริกาที่กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และมีการตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ชิ้นส่วน อุปกรณ์ และระบบในโรงงานต่าง ๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง ระบบไฟ ระบบดับเพลิง เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบเฉพาะตามข้อกำหนดและเป็นการผลักดันการควบคุมความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ในระดับประเทศ ภูมิภาค และสากล UL ยังให้ความช่วยเหลือแก่องค์กร บริษัทต่างๆ ในการนำผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเข้าสู่ตลาดโลก โดยสนับสนุนการบริหารจัดการ และดูแลคุณภาพของระบบในทุกขั้นตอน การพัฒนามาตรฐานของ UL มีขั้นตอนที่เปิดกว้าง มีการรับฟังข้อมูลโดยตรงจากผู้บริโภค ผู้ผลิต องค์กรของรัฐ ผู้ใช้ และ องค์กรที่ให้ความสนใจ

UL ได้รับความไว้วางใจในระดับสากลในการตรวจสอบความปลอดภัยในการพัฒนา ทดสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ จัดดำเนินการทดสอบความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์มานานกว่า 100 ปี มีการพัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยมามากกว่า 1,200 มาตรฐาน มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เครื่องหมาย UL กว่า 20 ล้านรายการจากผู้ผลิต 7200 รายต่อปีทั่วโลก การรับรองมาตรฐาน UL จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์ได้รับความเชื่อมั่นในความปลอดภัยในระดับสาธารณะ ทั้งผู้บริโภค ผู้ขายปลีก บริษัทประกันภัย ผู้จัดจำหน่าย สัญลักษณ์ UL จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการไว้วางใจในความปลอดภัย

บริการทดสอบและรับรองของ UL จัดว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้ใช้ระบบป้องกันอัคคีภัย UL มีคู่มือผลิตภัณฑ์อยู่บนเว็บไซต์ โดยในคู่มือจะระบุรายชื่อบริษัทที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์ และมีข้อมูลสำคัญสำหรับผู้ควบคุมเอกสาร เจ้าของอาคาร และบริษัทประกันภัย ดังนั้นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ได้รับการรับรองจาก UL จึงมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยในระดับสากล

มาตรฐาน FM คืออะไร

FM (Factory Mutual) เป็นหน่วยงานอิสระที่รับรองประสิทธิภาพของวัสดุและระบบ เป็นมาตรฐานระดับสากล (FM Global) และเป็นหนึ่งในมาตรฐานที่ใหญ่ที่สุดที่ให้การรับรองสินค้าและบริการในเชิงพาณิชย์และการประกันภัยอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยเฉพาะการปกป้อง ทรัพย์สิน FM จะมีการออกสัญลักษณ์เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ มีลักษณะตรงตามเกณฑ์มาตรฐานของ FM

FM จะให้การรับรองปั๊มน้ำดับเพลิงโดยอ้างอิงมาตรฐาน NFPA 20 อย่างไรก็ตาม FM มีข้อกำหนดมากกว่ามาตรฐาน NFPA 20 การอนุมัติของ FM จึงถือเป็นการอนุมัติคุณภาพผลิตภัณฑ์ระดับสูงสุด

เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Patterson

Patterson Fire Pump หรือเครื่องสูบน้ำดับเพลิง Patterson เป็นเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ ค.ศ. 1915 ได้รับการยอมรับในเรื่องของคุณภาพมาเป็นเวลามากกว่า 100 ปี ผ่านการรับรองจากสถาบัน UL (Underwriter Laboratory), FM (Factory Mutual) และเป็นไปตามมาตรฐาน NFPA 20 ทำให้ผู้คนนับล้านจากทั่วโลก ทั้งยุโรป, อเมริกา และเอเชีย ต่างให้ความไว้วางใจและเลือกใช้เครื่องสูบน้ำดับเพลิง Patterson มาอย่างยาวนาน เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคารสูง คอนโดมิเนียม อาคารขนาดใหญ่ ธนาคาร โรงแรม โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ซุปเปอร์สโตว์ สถานศึกษา และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด

 

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่

👷🏻ติดต่อ : คุณป้อมเพชร วิศยทักษิณ ผู้จัดการฝ่ายขาย (Mechanical Department)
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211 / 081-610-6604
📱Line id : Pompetch.w

🌐 https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
📧 อีเมล: [email protected]
📱เบอร์โทรศัพท์ : 02-710-3211

เรื่องล่าสุด

9 เทคนิค ใช้แอร์สบายใจไม่หวั่นค่าไฟ

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Carrier

9 เทคนิค ใช้แอร์สบายใจไม่หวั่นค่าไฟ

B.Grimm Trading|Carrier Air Conditioners|Carrier

ตั้งแต่ทำงานที่บ้านหรือ Work From Home หลายคนอาจพบว่าค่าไฟบ้านตัวเองพุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ หนึ่งในสาเหตุหลักก็คือการเปิดแอร์ทั้งวันทั้งคืนนั่นเอง แต่จะให้นั่งทำงานหรือนอนแบบร้อน ๆ ก็คงไม่ไหว แล้วเราจะเปิดแอร์ประหยัดไฟได้อย่างไรบ้าง? นอกเหนือจากการเลือกใช้แอร์ประหยัดไฟเบอร์ 5 หรือแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์แล้ว เรายังมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในการเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟ ไม่ต้องมานั่งกุมขมับกันตอนสิ้นเดือน

1. วางคอมเพรสเซอร์ในที่ร่ม มีอากาศถ่ายเท

หลายคนอาจสงสัยว่าตำแหน่งติดตั้งคอมเพรสเซอร์เกี่ยวข้องกับการเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟอย่างไร ที่เกี่ยวก็เพราะว่าหน้าที่ของคอมเพรสเซอร์คือระบายความร้อน การวางคอมเพรสเซอร์กลางแดดหรือในที่ที่ลมถ่ายเทไม่สะดวก จะทำให้คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนัก ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมในการติดตั้งคือที่ร่ม ไม่โดนแสงแดด และมีอากาศถ่ายเท เมื่อคอมเพรสเซอร์สามารถระบายอากาศได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ก็เป็นการช่วยประหยัดค่าไฟนั่นเอง

air-conditioner-compressor

2. ล้างแอร์โดยช่างทุก 6 เดือน

แม้ว่าเราจะสามารถถอดฟิลเตอร์ทำความสะอาดแบบง่าย ๆ ได้ด้วยตนเอง แต่ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญทำการถอดล้างภายในอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน เพื่อชะล้างฝุ่นหรือสิ่งสกปรกที่อาจกีดขวางการทำงานของเครื่อง ทำให้แอร์ทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ในกรณีที่บ้านของคุณอยู่ติดถนนหรือใกล้กับบริเวณที่มีการก่อสร้าง อาจเพิ่มการทำความสะอาดเป็นทุก 2-3 เดื

3. เปิดประตูหน้าต่างก่อนเปิดแอร์เพื่อระบายอากาศ

ก่อนเปิดแอร์สัก 15 นาที ควรเปิดประตูและหน้าต่าง เพื่อถ่ายเทอากาศและความร้อนที่สะสมอยู่ภายในห้องออกไปภายนอก และยังช่วยลดกลิ่นอับได้อีกด้วย ทำให้ห้องเย็นเร็วขึ้นเมื่อเปิดแอร์ เครื่องไม่ต้องทำงานหนัก เป็นอีกหนึ่งวิธีของการเปิดแอร์ประหยัดไฟแบบง่าย ๆ

4. ปิดประตู หน้าต่างให้สนิทหลังเปิดแอร์

เมื่อเปิดแอร์เรียบร้อย อย่าลืมปิดประตู หน้าต่าง รวมถึงช่องระบายอากาศต่าง ๆ ให้สนิท ตรวจสอบอย่าให้มีช่องว่างให้อากาศภายนอกเล็ดลอดเข้ามาได้ ไม่เช่นนั้นเครื่องจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่

room

5. ตั้งอุณหภูมิที่ 26 หรือ 27 องศา

เราอาจจะคุ้นกับคำแนะนำว่าการเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟคือการตั้งอุณภูมิที่ 25 องศาซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นค่ามาตรฐานที่ให้ความเย็นที่กำลังพอดี จริง ๆ แล้วการตั้งอุณหภูมิที่ สูงกว่า 25 เล็กน้อย หรือที่ประมาณ 26 – 27 องศาจะช่วยประหยัดไฟโดยที่ยังคงความเย็นสบาย เนื่องจากงานวิจัยระบุว่า การเพิ่มอุณหภูมิขึ้น 1 องศาเซลเซียส ถือเป็นการเปิดแอร์ประหยัดไฟ สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 10% ต่อปีเลยทีเดียว

6. ไม่ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนในขณะเปิดแอร์

การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ปล่อยความร้อน เช่น กาต้มน้ำ กระทะไฟฟ้า เตารีด ทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เพื่อทำให้อุณหภูมิในห้องเย็นขึ้น ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าเหล่านี้

7. พยายามอย่าเพิ่มความชื้นในห้อง

นอกจากปรับอุณหภูมิในห้องให้เย็นลง แอร์ยังต้องกำจัดความชื้นต่าง ๆ เพื่อให้อากาศในห้องแห้งที่สุด ซึ่งถ้าในห้องมีความชื้น ก็จะทำให้แอร์ต้องทำงานหนักขึ้นและกินไฟมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นหากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เกิดความชื้นในห้อง เช่น การวางต้นไม้ในห้อง การตากผ้า การเปิดประตูห้องน้ำทิ้งไว้ สิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ เหล่านี้สามารถช่วยประหยัดไฟให้กับคุณได้เช่นกัน

8. ปิดแอร์ก่อนออกจากห้อง 30 นาที

ถ้ากะเวลาที่จะเลิกใช้งานแอร์ได้ การปิดล่วงหน้าซัก 30 นาทีถึง1 ชม. จะทำให้แอร์ได้พักเครื่องเร็วขึ้น และไม่ต้องกลัวว่าถ้าปิดแอร์แล้วอากาศจะร้อนขึ้นทันที เพราะความเย็นจะยังคงกระจายตัวอยู่ในห้องได้ในเวลาดังกล่าว โดยคุณสามารถเปิดพัดลมเบา ๆ ช่วยเพิ่มความเย็นแทนได้

9. ใช้งานเท่าที่จำเป็น

วิธีที่ง่ายและให้ผลดีที่สุดคงหนีไม่พ้นการเปิดใช้งานเท่าที่จำเป็น บางคนเปิดแอร์ตลอดเวลาด้วยความเคยชินทั้ง ๆ ที่อากาศข้างนอกไม่ได้ร้อน แถมเปิดพร้อมกันหลายห้อง ถ้าคุณเป็นคนนึงที่มีอาการติดแอร์ อาจลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลือกเปิดเฉพาะตอนกลางวันที่อากาศร้อนมาก เมื่อร่างกายเริ่มปรับตัวได้คุณอาจจะรู้สึกว่าการนอนรับลมธรรมชาติในตอนกลางคืนสบายกว่า แถมยังสบายใจยิ่งขึ้นไปอีกตอนเห็นบิลค่าไฟ

เป็นยังไงบ้างคะกับเทคนิคการเปิดแอร์ให้ประหยัดไฟแบบง่าย ๆ หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม บี.กริม เทรดดิ้ง เรามีทีมงานมืออาชีพที่คอยให้คำปรึกษา เราเป็นตัวแทนจำหน่ายแอร์แคเรียร์ อย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน รวมถึงบริการทั้งก่อนและหลังการขายอย่างครบวงจรโดยพนักงานมืออาชีพ ติดต่อเราได้เลย ที่นี่

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

สวิตช์ไฟ เต้ารับ คืออะไร และควรเลือกซื้ออย่างไร

B.Grimm Trading|Siemens|Switch Socket

สวิตช์ไฟ เต้ารับ คืออะไร เลือกซื้ออย่างไร

B.Grimm Trading|siemens Elctrical product|Switch and Socket

สวิตช์ไฟแบบติดผนัง (Switch) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าพื้นฐานที่มีความสำคัญที่สุดชนิดหนึ่งของบ้าน เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ควบคุมวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่เปิด-ปิดกระแสไฟ สวิตช์มีหลายชนิดและดีไซน์ให้เลือกตามการใช้งานที่แตกต่างกัน บางประเภทจะระบุคุณลักษณะการทนกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า สามารถติดตั้งและใช้งานง่าย มีการตอบสนองที่รวดเร็ว ทนความร้อนได้ดี

สวิตช์ (Switch) ทำงานอย่างไร

สวิตช์จะมีอุปกรณ์ภายในที่เรียกว่าหน้าสัมผัส ทำหน้าที่เปิดปิดวงจรไฟฟ้าคล้ายสะพานไฟ เมื่อกดเปิดสวิตช์ หน้าสัมผัสของสวิตช์จะเชื่อมต่อกันทำให้กระแสไฟฟ้าไหลในวงจร และเมื่อกดปิด หน้าสัมผัสจะไม่เชื่อมกัน กระแสไฟฟ้าจึงไม่สามารถไหลในวงจรได้

ประเภทของสวิตช์

สวิตช์มีหลายประเภทและมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป นอกจากใช้กับหลอดไฟแล้วยังใช้สำหรับเปิด-ปิดกระแสไฟฟ้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย เช่น 

  • สวิตช์ก้านโยก (Toggle) เช่น สำหรับพัดลม เครื่องปั๊มน้ำ และหลอดไฟ 
  • สวิตช์แบบเลื่อน (Slider) เช่น สำหรับไฟฉาย ของเล่น 
  • สวิตช์แบบปุ่มกด (Push-Button) เช่น สำหรับคอมพิวเตอร์ ทีวี วิทยุ 

ซึ่งรูปแบบของสวิตช์ที่ต่างกันมักจะไม่ส่งผลต่อการทำงานและการเดินสายไฟฟ้า สำหรับสวิตช์ไฟบ้านชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดคือแบบ สวิตช์กระดก (Rocker) นิยมใช้กับการเปิด-ปิดหลอดไฟ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ และปลั๊กพ่วง ใช้งานโดยการกดเมื่อต้องการเปิดสวิตช์ก็ให้กดด้านที่ระบุว่าเป็นการเปิดสวิตช์ลง ส่วนอีกด้านที่เหลือก็จะกระดกขึ้น

ซีเมนส์ สวิตช์ ปลั๊ก

สวิตช์ยังสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งานได้เช่นกัน ได้แก่

สวิตช์ทางเดียว (Single-Pole Switch)

  • ควบคุมวงจรไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าเพียงชิ้นเดียว หรือวงจรเพียงส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแบบพื้นฐานที่มีการติดตั้งและเดินกระแสไฟที่ง่ายกว่าแบบสองทาง รองรับการใช้งานแบบทั่วๆ ไป และราคาไม่แพง

สวิตช์ 3 ทาง (Three-way switch เรียกแบบทางฝั่งอเมริกา ซึ่งถ้าในอังกฤษจะเรียก Two-way switch หรือสวิตช์ 2 ทาง)

  • หรือที่เราเรียกกันว่าสวิตช์บันได จะมี 3 Terminal สามารถควบคุมกระแสไฟฟ้าได้ 2 ทิศทาง ในการใช้งานจะใช้สวิตช์แยกกัน 2 ตัวสำหรับควบคุมไฟดวงเดียว ติดตั้งที่ปลายบันไดทั้งสองข้าง หรือในโรงรถหรือห้องใต้ดินที่มีทางเข้าออกสองทาง โถงทางเดินหรือที่อื่น ๆ

สวิตช์หรี่ไฟ (Dimmer Switch)

  • เป็นสวิตช์ที่สามารถปรับลดความสว่างของแสงได้ มักใช้ในห้องที่ต้องการแสงสลัว สวิตช์หรี่ไฟช่วยประหยัดพลังงานและยืดอายุการใช้งานของหลอดไฟ ไฟดิมเมอร์ไม่สามารถใช้งานกับหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้ร่วมกับหลอด LED ได้แล้ว

การดูแลรักษาสวิตช์ไฟ

  • หลีกเลี่ยงความชื้นและน้ำเนื่องจากจะส่งต่อสภาพของสวิตช์โดยตรงและอาจทำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้
  • ตรวจสอบการใช้งานเป็นประจำเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาล่วงหน้า
  • ตำแหน่งติดตั้งควรอยู่ในระดับที่สูงพอประมาณเพื่อความสะดวกในการใช้งานและตรวจสอบการเปลี่ยนแปลง
  • พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งต่ำจนเกินไป (ยกเว้นการใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิด)
  • สวิตช์ไฟที่ชำรุดควรเปลี่ยนทันทีเพราะอาจเป็นอันตรายต่อการใช้งานได้
  • ปิดสวิตช์เมื่อเลิกใช้เพื่อเป็นการพักช่วงการทำงานให้กับตัวสวิตช์
  • เลือกใช้สวิตช์ให้ตรงประเภทการใช้งาน เช่น หากกำลังไฟสูงก็ควรเลือกใช้สวิตช์ที่สามารถรองรับกำลังไฟแรงสูงได้
  • ขั้วต่อสวิตช์ต้องแน่น

เต้ารับ (Socket) หรือปลั๊กไฟ ทำหน้าที่เชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า โดยที่เต้ารับจะมีรูสำหรับรองรับเต้าเสียบเพื่อให้กระแสไฟไหลเข้าหลอดไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้า มักติดตั้งอยู่กับผนังอาคาร เต้ารับมีชนิด 2 ขา และ 3 ขา ซึ่งช่องที่เพิ่มมาจะต่อลงสายดินเพื่อเพิ่มความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นในกรณีเกิดกระแสไฟฟ้ารั่ว

การเลือกเต้ารับ

เพื่อให้การใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย การเลือกเต้ารับที่ดีควรมีพิจารณาเบื้องต้นดังนี้ทำจาก

  • โลหะที่ไม่เกิดสนิมเพื่อประสิทธิภาพที่ดีใช้การใช้งาน
  • ทนความร้อน กันการลุกลามของไฟ
  • ฉนวนหุ้มต้องไม่กรอบและแตกง่าย
  • มีขนาดเหมาะสมกับปริมาณของกระแสไฟ
  • ได้มาตรฐานรับรอง
  • มีม่านนิรภัยกันนิ้วแหย่สำหรับบ้านที่มีเด็กเล็ก

บี.กริม เทรดดิ้ง เราเป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าจากซีเมนส์อย่างเป็นทางการ มั่นใจได้ถึงความปลอดภัย ทนทาน ประหยัดพลังงาน

สามารถดู แคตตาล็อก สวิตช์และเต้ารับซีเมนส์ได้ที่ 
https://bgrimmtechnologies.com/product-category/electrical-products/switches-and-sockets

สอบถามข้อมูลสินค้าเพิ่มเติมได้ที่
https://bgrimmtechnologies.com/contact-us/
อีเมล: [email protected]
เบอร์โทรศัพท์ : +66 (0) 2710 3000
Line Official Account :  https://lin.ee/ItAW7DS  @bgrimmtrading

เรื่องล่าสุด

Siemens Mid-Year Sale 2022

siemens mid year sale
Mid-year-sale siemens consumer unit and breaker

ซื้อ SIEMENS ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตและเบรกเกอร์ทุกรุ่น ผ่านช่องทางออนไลน์ รับส่วนลดทันที 15% วันนี้ – 30 มิ.ย. 2565

🔹ตู้ไฟ ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต
🔹เบรกเกอร์ MCB
🔹เบรกเกอร์ RCCB / RCBO
🔹เบรกเกอร์ MCCB

🛒Shopee : https://shopee.co.th/bgtc_online
🛒OneStockHome :https://www.onestockhome.com/th/sellers/454143
🛒NocNoc : https://nocnoc.com/sl/BGRIMM-Trading/580287

ช้อปได้แล้ววันนี้ ทุกช่องทางหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
📥 INBOX: http://m.me/B.GrimmTrading
✉️ [email protected]
📱Line Official : @bgrimmtrading
#BgrimmTrading #BGTC #SiemensBreaker #ซีเมนส์เบรกเกอร์ #ตู้ไฟ #คอนซูมเมอร์ยูนิต #เบรกเกอร์ซีเมนส์ #Siemens

เรื่องล่าสุด